วันเสาร์ที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

ว่าด้วยเรื่องระบบปฏิบัติการของเครื่องผมเอง (3)


อย่างที่บอกไว้งวดก่อน ตอนนี้มาว่าถึงความสามารถของลีนุกซ์กันบ้าง ลีนุกซ์นั้นพัฒนาขึ้นมาโดยอิงหลักการของระบบปฏิบัติการยูนิกซ์ โดยมีจุดยืนว่าเป็นฟรีซอฟต์แวร์ ซึ่งทุกคนสามารถที่จะมีส่วนร่วมในการพัฒนาได้ สามารถนำไปใช้งานได้ตามความต้องการ การเขียนโปรแกรมแต่ละตัวขึ้นมานั้น ก็อาศัยความต้องการในการใช้งานเป็นหลัก โดยมีเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเป็นเส้นทางเชื่อมต่อทุกๆ คนเข้าหากัน
พื้นฐานของระบบเป็นระบบมัลติยูสเซอร์ หรือระบบหลายผู้ใช้ หรือพูดอีกอย่างหนึ่งคือเป็นเซิร์ฟเวอร์โดยตรง โดยมีผู้ใช้หลักคนหนึ่งคือ root ทำหน้าที่เป็นผู้ดูแลระบบนั้นๆ ดังนั้น โปรแกรมที่เขียนขึ้นมาทุกโปรแกรมจะถูกใช้งานในโหมดมัลติยูสเซอร์ทั้งหมด
ในระยะแรกๆ การใช้งานลีนุกซ์จะเน้นไปที่ระบบเซิร์ฟเวอร์เป็นส่วนมาก ระบบเซิร์ฟเวอร์ที่นิยมใช้กันมากที่สุดน่าจะเป็น apache (เว็ปเซิร์ฟเวอร์)นอกจากนี้ก็เป็นพวก File server, FTP Sever หรือแม้กระทั้งโปรแกรมฐานข้อมูลอย่าง MySQL ก็จัดอยู่ในจำพวกฟรีซอฟต์แวร์ของลีนุกซ์ ซึ่งโปรแกรมเหล่านี้ทำงานในเท็กซ์โหมด ดังนั้นจีงไม่มีความจำเป็นในการใช้งานในระบบกราฟิคแบบวินโดวส์ ทำให้ตอนแรกการใช้งานลีนุกซ์จึงเน้นกันที่เท็กซ์โหมด
หลังๆ มากระแสการใช้งานคอมพิวเตอร์มีแพร่หลาย ทั้งจากความนิยมในไมโครซอฟต์วินโดวส์และแม็คโอเอส ทำให้เกิดการพัฒนาระบบวินโดวส์ในลีนุกซ์ (ซึ่งเรียกว่า Xwindows) และมีการพัฒนาโปรแกรมที่ใช้งานในลีนุกซ์กันมากมายเพื่อสนองต่อความต้องการใช้งานโปรแกรมของผู้ใช้ทั่วไป ทั้งโปรแกรมชุดออฟฟิศ (พิมพ์งาน ตาราง นำเสนอ) แล้วก็โปรแกรมกราฟฟิคต่างๆ โปรแกรมมัลติมีเดียต่างๆ ซึ่งมีผู้เขียนโปรแกรมเหล่านี้เป็นจำนวนมาก หลังๆ มาจึงเห็นได้ว่าโปรแกรมใช้งานในลีนุกซ์นั้นมีเยอะแยะมากมาย ซ้ำซ้อนกันมากก็มี อาจจะมีคนสงสัยว่าในเมื่อมีโปรแกรมให้ใช้ตั้งเยอะแยะแล้วทำไปคนจึงไม่นิยมใช้ลีนุกซ์กัน คำตอบก็ง่ายๆ ครับ คนส่วนมากไม่ได้เรียนการใช้งานลีนุกช์ แต่เรียนการใช้งานโปรแกรมในไมโครซอฟท์วินโดวส์ พูดง่ายๆ คือ ไมโครซอฟท์วินโดวส์เป็นเจ้าตลาดอยู่แล้ว คนที่เป็นลีนุกซ์หาไม่ค่อยได้ ซื้อคอมพ์มาพี่แกก็ลงไมโครซอฟต์มาให้ทั้งนั้น แล้วคนทั่วๆ ไป จะไปรู้จักลีนุกซ์ได้ยังไง

วันหลังมาพูดถึงภาษาไทยกับลีนุกซ์กันบ้างดีกว่านะครับ

วันศุกร์ที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

ว่าด้วยเรื่องระบบปฏิบัติการของเครื่องผมเอง (2)


ตอนที่ลีนุกซ์เริ่มเข้ามาในเมืองไทยใหม่ๆ มีลีนุกซ์ดังๆ อยู่หลายตัว ซี่งก็เป็นตัวหลักๆ ทั้งนั้นคือ รุ่นเก๋าๆ หน่อยก็จะเป็น Slackware ซึ่งเล่นยากส์มากกกกกกก เพราะพี่แกให้ตั้งค่าอะไรเองแทบจะทั้งหมด แถมๆ บางทีให้คอมไพล์โปรแกรมใช้เองซะอีก (ฮ่วย) ตัวนี้เค้าเน้นที่เครื่องเซิร์ฟเวอร์ ปัจจุบันขาเก๋าจริงๆ เท่านั้นถึงเล่นเป็น (ผมเองเล่นมาเป็นสิบปีเคยลองครั้งสองครั้งแล้วก็ไม่แตะอีกเลย) อีกตัวที่ดังๆ ก็คือเจ้าหมวกแดง Redhat Linux ตัวนี้ฮิตกันมากหน่อยเพราะลงง่าย เล่นง่าย คอนฟิคง่าย จึงแตกลูกแตกหลายออกไปอีกเป็นลีนุกซ์หลายตัว อย่างเช่น Mandrake, Fedora, SIS (ของไทย เฉพาะรุ่นแรกๆ), Kaiwal (ตัวนี้ก็ของไทยเหมือนกัน) แล้วก็อีกเยอะแยะ อีกตัวนึงก็คือ Debian ซึ่งพวกที่นิยมเล่นกันก็เป็นพวกที่จบมาจากนอกเป็นส่วนมาก มีตังค์หน่อย มีเน็ตใช้ (ในสมัยนั้นนะ) เพราะ Debian สามารถติดตั้ง-อัพเดตผ่านเน็ตได้เลย (สุดยอดมั้ยล่ะ)
ส่วนตัวผมเอง เริ่มเล่นแรกๆ ก็จับไปที่ Redhat ก่อนอื่นเลย ตอนนั้นยังเป็นเวอร์ชัน 6.0 อยู่เลย ติดตั้งง่าย แต่คอนฟิคค่อนข้างจะยาก ดีสุดๆ อยู่ที่ไม่ต้องพึ่งแผ่นไดร์เวอร์ เพราะส่วนมากมันมีไดร์ฟเวอร์ติดมากับโอเอสใช้การได้แล้ว เพียงแต่ต้องคอนฟิคระบบให้มันได้ก็เท่านั้น (ความมันส์มันอยู่ตรงที่ความยากนี่แหละครับ พอทำได้แล้วก็สะใจ 5555)
เล่นลีนุกซ์สมัยแรกๆ นี่เล่นเอามันส์จริงๆ ครับ เน็ตก็ช้าๆ (อยู่บ้านนอกมีเน็ตเล่นก็ดีเท่าไหร่แล้ว ชั่วโมงละเกือบสิบบาทแน่ะ)เพราะฉะนั้นจึงอาศัยติดตั้งจากแผ่นอย่างเดียว แล้วก็หาหนังสือมาอ่าน แผ่นก็ต้องหาที่สั่งซื้อเอา ได้เข้ากรุงเทพฯตอนไหนก็สนุกไปหาที่พันธุ์ทิพย์โน่นเลย
แรกๆ ระบบยังไม่เข้าที่เข้าทางเท่าไหร่ ทำให้มีเสียงได้ก็ดีใจแย้ว... ทำให้ใช้งาน Xwindows (ระบบการทำงานแบบกราฟฟิค) โอย... สุดยอด เรื่องภาษาไทยไม่ต้องพูดถึง ทำให้อ่านออก-เขียนได้ก็เจ๋งแล้ว เล่นมันหมดทุกอย่าง ต่อเข้าเน็ตได้ก็ลองโปรแกรมไอซีคิวบ้าง (MSN ยังเป็นวุ้นอยู่เลยตอนนั้น) หรือลองแช็ทกับพวกเล่น IRC โฮ่ๆ สนุกมากเลย
ก็อย่างที่บอกว่ามันเป็นระบบเปิด ซึ่งอาศัยพวกโปรแกรมเมอร์พัฒนาระบบแลกเปลี่ยนกันไปเรื่อยๆ ผ่านทางระบบอินเทอร์เน็ต ลีนุกซ์จึงพัฒนาไปเร็วมาก แป็บเดียว แค่เดือนสองเดือน เวอร์ชั่นใหม่ก็ออก แล้ว อย่างเรดแฮท จาก 6.0 สองเดือนก็ออก 6.1 สามเดือนต่อมาก็ออก 6.2 กว่าจะถึง 7 ก็เป็นปี ระหว่างนั้น ก็มีลีนุกซ์ตัวใหม่โผล่มาเรื่อยๆ ถ้าไปไล่ดูดีๆ มีเป็นของแต่ละประเทศเลยเพียบ บางตัวก็รุ่ง บางตัวก็ดับไป ที่เจ๋งๆ อยู่รอดมาถึงทุกวันนี้ก็มีหลายตัว เช่น Mandrake (จากฝรั่งเศส ต่อมาก็เปลี่ยนชื่อเป็น Mandrava)SuSe (ของเยอรมัน หลังๆ มาเปลี่ยนชื่อเป็น OpenSuSe) หรือต้นแบบอย่างเรดแฮท (จากอเมริกา ก็มากลายเป็น Fedora) ที่เปลี่ยนชื่อนี่ก็เพราะเหตุที่ช่วงแรกๆ บริษัทที่ทำลีนุกซ์ทำออกมาเป็นธุรกิจเป็นล่ำเป็นสันเลย ซึ่งก็จะมีรายได้จากการให้บริการดูแลระบบเซิร์ฟเวอร์ซะเป็นส่วนมาก หลังๆ มาเวอร์ชันเดิมที่มีการเขียนโปรแกรมควบคุมโดยเฉพาะก็จำหน่ายเฉพาะลูกค้าอย่างเดียว ส่วนเวอร์ชันที่มีแต่ซอฟแวร์ฟรีก็มาเป็นชื่อเหมือนอย่างที่ว่ามา

เอ้า... วันหลังจะมาว่าถึงวิวัฒนาการของการพัฒนาลีนุกซ์ว่ามันสามารถทำอะไรได้บ้างนะครับ

ว่าด้วยเรื่องระบบปฏิบัติการของเครื่องผมเอง (1)

เตรื่องที่ผมใช้อยู่นี่ลง 2 โอเอสครับ ตัวหนึ่งก็คือวินโดวส์เอ็กซ์พี (เหมือนชาวบ้านชาวเมืองเขาทั่วๆไป) ส่วนอีกตัวก็คือลีนุกซ์ (Debian 5.0 Lenny อันนี้ไม่เหมือนชาวบ้านแต่ใช้ประจำไม่ค่อยได้ใช้วินโดวส์สักเท่าไหร่)
บางคนอาจสงสัยว่าลีนุกซ์นี่มันอะไรหว่า? อาจจะเคยได้ยินหรือผ่านหูผ่านตามาบ้าง หรือบางคนก็อาจจะรู้ เรื่องวินโดวส์เอ็กซ์พียกไปไม่พูดถึง พูดถึงลีนุกซ์ดีกว่า
เอาเป็นว่าซักประมาณสิปปีที่แล้วตอนนั้นในเมืองไทยคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลหรือ PC กำลังเริ่มเป็นที่นิยมอย่างมาก ใครๆ ต่างก็พากันไปเรียนคอมพ์(ว่ากันอย่างนั้น)กันเป็นแถว เพราะกลัวตกเทรนด์ แล้วไอ้ที่ว่าเรียนคอมพ์ก็คือการเรียนใช้งานคอมพิวเตอร์นั่นเอง โดยพีซีทั่วไปก็จะมีระบบปฏิบัติการไมโครซอฟต์วินโดวส์ (9x/me/2000/XP) แล้วก็การใช้งานโปรแกรมทัวๆไปอย่าง เวิร์ด เอ็กเซล พาวเวอร์พอยท์ อะไรประมาณนี้ ค่าเรียนในตอนนั้นไม่ใช่ถูกๆ นะครับคอร์สนึงตั้งหลายพัน บางคอร์สล่อกันเป็นหมื่นก็มี ดังนั้น จะเห็นได้บ่อยๆ ว่าบางคนใช้เวิร์ดไม่เป็น แต่ใช้เอ็กเซลพิมพ์งานเฉยเลย เพราะไม่อยากเปลืองค่าเรียน เรียนเฉพาะเอ็กเซล ไม่ได้เรียบเวิร์ด (หุหุ)
อะน่ะ ว่าจะพูดเรื่องลีนุกซ์ ออกทะเลไปหาเรื่องเรียนคอมพ์ซะได้ พูดถึงลีนุกซ์ เปิดกระแสได้ด้วยเรื่องของลิขสิทธิ์ครับ เพราะราคาซอฟท์แวร์อะไรต่างๆ นี่ไม่ใช่ถูกๆ ค่าซอฟต์แวร์นี่แพงกว่าค่าเครื่องซะอีก อย่างเฉพาะตัววินโดวส์นี่ ราคาไม่ต่ำกว่า 7-8 พัน (เวอร์ชันโอมซะด้วยไม่ใช่โปรนะ) แถมค่าซอฟต์แวร์ใช้งาน อย่างออฟฟิศนี่ก็ชุดละ 3-4 หมื่น (ลงได้เครื่องเดียวนะเนี่ย โอ้... แม่เจ้าโว้ย เฮียบิลไม่รวยก็ให้มันรู้ไปสิวะ) ไม่ต้องไปพูดถึงโปรแกรมอื่นๆ อย่าง โฟโตช็อป คลอเรลดรอว์ อะไรพวกนี้ ราคาหลักหมื่นทั้งนั้น แต่ส่วนมากไม่ได้ซื้อกันหรอกครับ ช่างลงให้มาจากร้านเรียบร้อย ของเถื่อนทั้งนั้น ลินุกซ์เข้ามาตอนที่กระแสเรื่องการละเมิดลิขสิทธิ์ทรัพย์สินทางปัญญานั่นแหละ บวกกับปัจจัยอย่างอื่นอีก เช่น การที่วินโดวส์ชอบแฮงค์บ่อย ๆ ช้าอืดอาด ไม่ค่อยเสถียร (โดยเฉพาะในตอนที่เอ็กซ์พีออกมาใหม่ๆ นี่สุดยอด)แถมด้วยปัญหาเรื่องไวรัส โดยเฉพาะเมื่ออินเทอร์เน็ตเริ่มเข้ามาในชีวิตประจำวันของคนทั่วไป
ลีนุกซ์เป็นระบบปฏิบัติการที่มีจุดเด่นในเรื่องของลิขสิทธิ์ที่เป็นฟรีแวร์ ทั้งระบบปฏิบัติการ และโปรแกรมใช้งานต่างๆ ซึ่งสามารถดาวน์โหลดมาใช้ได้ฟรีๆ แถมใครมีสติปัญญาความสามารถก็สามารถที่ปรับแต่งซอฟต์แวร์เพิ่มเติมได้อีกด้วย (มีซอร์สโค้ดโปรแกรมให้ดาวน์โหลดฟรีๆ ปรับแต่งแก้ไขได้ ขายได้ถ้ามีคนซื้อ ห้ามนำไปแอบอ้างว่าเป็นของตัวเอง ห้ามเก็บกักไว้ใช้เอง ต้องแบ่งให้คนอื่นด้วย อะไรประมาณนี้แหละ 555) คือ แนวคิดมันสุดยอดมากเลย แล้วก็มันทำได้ซะด้วย คือ เมื่อมีการเปิดให้คนทั่วๆไป สามารถร่วมพัฒนามันได้ มันก็เลยเกิดกระแสขึ้นอย่างใหญ่ โปรแกรมเมอร์จากทั่วโลกที่เห็นชอบก็เข้าไปช่วยพัฒนากันใหญ่จนกลายเป็นระบบปฏิบัติการที่สามารถทำงานได้ทัดเทียมกับโอเอสยอมนิยมอย่างไมโครซอฟต์วินโดวส์ได้ แถมยังสามารถใช้ได้กับเครื่องทุกประเภทตั้งแต่รุ่นเล็กๆ อย่างมือถือ ไปยันเมนเฟรมขนาดยักษ์ก็ได้หมด(ของไมโครซอฟต์ลงได้เฉพาะเครื่อง PC-IBM Compatible เท่านั้น)แล้วก็มีระบบรักษาความปลอดภัยที่ไว้วางใจได้ หาไวรัสมากวนไม่ค่อยมีอีกตะหาก

(เอ้า... วันหลังมาโม้ต่อก็แล้วกัน)

วันพุธที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2552

ติดตั้งวินโดวส์ให้ Acer Aspire One


เมื่อวานมีเด็กเอาโน๊ตบุ๊คเครื่องกระจิ๋วหลิ๋วมาให้ดู (acer aspire 1) ปรากฏว่าโดนสารพัดทั้งไวรัส สปายแวร์ แอดแวร์ถล่มวินโดวส์จนใช้งานอะไรแทบไม่ได้แล้ว เพราะโปรแกรมสแกนไวรัส (nod32) หมดอายุการใช้งานไปแล้ว เออร์เรอร์เต็มไปหมด แถมมีเสียงดังตู๊ดๆ อยู่เป็นระยะตลอดระยะเวลาที่เปิดเครื่องซะด้วย (แทบไม่เหลือชิ้นดีแล้ว) แล้วก็โปรแกรมเรียกใช้งานไม่ได้ซักโปรแกรมอีกแนะ

ตอนแรกก็เลยตกลงว่าจะแก้ตรงสแกนไวรัสกับทำให้โปรแกรมมันกลับมาใช้ได้ปกตินี่แหละ นั่งแก้อยู่ครึ่งวัน สารพัดจะทำ อุตส่าห์โหลด nod32 มาลงให้ใหม่ มันก็ไม่ยอมให้ลง โหลด Avira มาลงได้ เช็คเจอไวรัสแต่ก็อาการเหมือนเดิม (ฮ่วย) เอาอีกยกนึง โหลด Security Task Manager มาจัดการโพรเซสส่วนเกินซะ เขาไปเซ็คโพรเซสดูก็ปรากฏว่าโพรเซสอะไรก็ไม่รู้เต็มไปหมด ลองลบโพรเซสทิ้งไปเกือบครึงก็ยังอาการเหมือนเดิม (ชักขี้เกียจแล้วเฟ้ย!!!!) เลยยอมแพ้มันซ้าาาาาาาาาาา ลงวินโดวส์ใหม่ดีฝ่าเนอะ

จาลงวินโดวส์ใหม่เรอะ หุหุ ดูสเปคเครื่องก่อนครับ Acer Aspire 1 สเปคโคตรๆ Intel Atom 1.6 Ghz แรม 1 จิ๊ก (โอ๊ว) ฮาร์ดดิสก์ ลืมดูแฮะ คงจะประมาณ 120 หรือ 160 นี่แหละ (อ้อออ.. ไปเช็คในเวป 120 ขอรับ) แต่ว่า มานมิมีซีดีรอมหรือดีวีดีรอมมาให้ซะนี่ (ก็เล็กกระจิ๊วหลิวซะงั้น จอ 8.9 นิ้วเอ๊งงง) ยังดีมีแลนกับไวเลสส์แล้วก็ USB อีก 3 พอร์ดให้ด้วยนะเนี่ย (สนนราคาไปดูที่เวปตะกี้ หย่อน 18,000 ไปร้อยเดียวเอง ถูกรึแพงดีเนี่ย) ตกลงว่าต้องลงผ่าน usb ทำงัยล่ะเฟ้ย ค่ำแล้วซะด้วย มี trump usb ติดตัวอยู่ 3 ตัว แต่เจ๊งไปแล้ว สองตัว 555
เข้าไปดูการติดตั้งวินโดวส์ผ่าน usb เนี่ยเค้าใช้อย่างต่ำ 1 จิ๊ก แต่ของเรามีแค่ 512 เองฟ่ะ เลยต้องไปโหลดวินโดวส์ตัวเล็กๆ ตัวนึงมา (ขนาดซ๊ดี 260 กว่้าเมกนี่แหละ) แล้วมาทำ usb ให้เป็นตัวติดตั้งวินโดวส์ ใช้เวลาทำอยู่ครึ่งวันมั่ง? (ครั้งแรกก็เงี้ยะ แต่มันส์ดีเหมือนกัน) ก่อนลงใหม่ก็โหลดไดร์ฟเวอร์มาไว้เกือบครบ ยกเว้นไดร์ฟเวอร์ซาวนด์อย่างเดียว มันโหลดนานซะจนรอไม่ไหว เลยรอไว้ก่อน พอลงวินโดวส์เสร็จก็ลงไดร์ฟเวอร์ผ่านหมด จนมาถึงตัวปัญหาคือ ซาวนด์ ลองโหลดใหม่ดูเด๊ะ แค่ 40 กว่าเมกเองเฟ้ย โหลดเป็นชั่วโมงก็ยังไม่เสร็จเลยว่ะ เซ็งจริงๆ หันหน้าหันหลังไปเจอแผ่นไดร์เวอร์เมนบอร์ดของ Asus เลยเอาไดร์เวอร์ WMD ของซาวนด์ตัวนั้นแหละมาลงให้เลย ผ่านฉลุย (ฮี่ฮี่ฮี่ เสร็จตูล่ะ) เป็นอันว่าเรียบร้อย งวดหน้าเจอกันใหม่นะอีหนูเอ๊ย (เด๊่ยวว่างๆ จะทำรีวิวติดตั้งวินโดวส์ผ่าน usb มาดูเล่น )

อ่าาาา สุดท้าย ตอนนี้เครื่องตัวเองไม่ได้ใช้วินโดวส์มาเป็นเดือนแล้ว ลงเดเบียนลีนุกซ์ใส่เครื่องแล้วโบกมือลาวินโดวส์ไปเลย หุหุ ไวหลอกไวรัสไม่รับตรูหรอกเฟ้ย!!!!

วันศุกร์ที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

เย้....... ฮาร์ดดิสก์กลับมาแย้ว


ช่วงนี้อัพเดตบทความน้อยเหลือเกิน (ที่จริงก้ไม่ค่อยได้อัพเดตอยู่แร้วนิ) หลังปีใหม่มานี่กำลังหมกมุ่นเรื่อง SEO กับ Amazon อยู่ ตอนนี้ก็ยังไม่ไปไหนมาไหนเลย เอาไว้ได้ผลประการใดจะมาเล่าให้ฟังตอนหลังนะครับ
อาทิตย์ก่อนพี่ชายเอาเครื่องมาลงวินโดวส์ใหม่ แล้วก็เลยเอาแฮนดีไดร์ฟมาให้ดูด้วย ปรากฎว่าเป็น kingston 2.0 G อยู่ดีๆ แค่ฟอร์แมต มันก็เหลือเนื้อที่ แค่ 20 เมกเท่านั้นเอง (เป็งไรอีกวะเนี่ย?????) งงสุดๆ ครับท่าน วันหลังมาก็เลยลองเอาพาร์ติชันเมจิกเปิดดูก็ปรากฏว่า พาร์ติชันเมจิกก็ไม่ยอมเห็นแฮนดีไดร์ฟซะงั้น (แป่วววววววววววว) ลองโหลดโปรแกรมจัดการพาร์ติชันตัวอื่นมาลองดูก็ไม่เห็นเหมือนกัน สงสัยจะเจ๊งไปแล้วจริงๆ แฮะ (ยังดีที่มันยังใช้ได้ตั้ง 20 เมกอ่ะนะ คิดปายด้ายยยยยยยยยยยย) ใช่โปรแกรมยูทิลิตี้ของ HP ที่เคยใช้มาก็ฟอร์แมตได้แค่ 20 เมกเหมือนเดิม (หุหุ) ยังเหลืออีกวิธียังไม่มีเวลาทำคือใช้แผ่น Hiren Boot ลองดูว่าจะไปจัดการพาร์ติชันได้ป่าว ถ้าได้ก็โอเค หรืออีกวิธี ลีนุกซ์ (ไม้ตายสุดท้าย) อันนี้เคยจัดการพาร์ติชันของแฮนดีไดร์ฟได้ น่าลอง (เมื่อไหร่จะทำฟะ ไอ้ตัวหลังเป็นขน)
อ้าฮะ...... ฟามคืบหน้า ฮาร์ดดิสก์ส่วนตัวของผมเอง ตอนนี้จัดการปัญหาได้ได้เรียบร้อยแล้ว คือหลังจากที่ทนใช้วินโดวส์มีมาหลายวัน พอดีวันนึงก็เลยลองถอดฮาร์ดดิสก์ไปต่้อก้บเครื่องอื่นดู ปรากฏว่าทีแรกมันก็เห็นแค่ 8G แถมยังแอคเซสไม่เข้าอีก(อ๊าวววว ลงวินมีอยู่แร้วนะเนี่ย) ทั้งมึนทั้งงง ก็เลยลองเซ็ตจัมเปอร์เปลี่ยนไปใช้ในโหมด Slave ดู (ธรรมดาใช้เป็นมาสเตอร์) ปรากฏว่ามันใช้ได้แฮะ ก็เลยเอากลับมาต่อเครื่องเดิม แต่มันก็มีปัญหาอยู่ว่าเมนบอร์ดรุ่นที่ใช้อยู่มัันบังคับให้ต้องมีไดร์ฟมาสเตอร์ด้วยมันถึงจะยอมให้บู๊ตได้ (เรื่องมากจริงเฟ้ยยยย) ก็เลยย้ายซีดีเครื่องนึงมาเป็นมาสเตอร์เอาฮาร์ดดิสก์เป็นสลาฟซะ เท่านั้นก็เรียบร้อย (หุหุ เล่นก๋าครายไม่เล่นมาเล่นก๋าเลา) ตอนนี้ก็เลยมาใช้งานได้ปกติล่ะ แต่ก็ยังไม่สะใจอยู่ดี รู้สึกมันจะดึงๆ ยังไงก็ไม่รู้ สงสัยต้องแบ่งพาร์ติชันใหม่อีกทีละมั้ง? เฮ้อออ... กว่าจะได้ก็ตั้งหลายเดือน อึดซะไม่มีเลยเรา
วันนี้ก็ฝอยแค่นี้แหละ เด๋ววันหลังมาใหม่

วันอาทิตย์ที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2552

เมื่อเนื้อที่ในฮาร์ดดิสก์ล่องหน ฮึ่มมมมม เจ็บใจนัก


Happy New Year สวัสดีปีใหม่ครับ
หลังปีใหม่มานี่ผมเพิ่งได้มีโอกาสเขียนบล็อกต่อก็วันนี้เอง ทั้งนี้ไม่ใช่ว่าเพิ่งจะฟื้นหรืออะไรประมาณนั้น แต่ว่าหลังจากกลับมาจากปีใหม่แล้ว งานเข้าเยอะพอสมควรทำให้ไม่ค่อยว่างเท่าไหร่ แต่ก็ได้อะไรใหม่ๆ รับต้นปีหลายอย่าง

อย่างแรกเลยกลับมาปุ๊บ เครื่องคอมพ์คู่ชีพผมมันก็เดี้ยงไปอีกแล้ว หลังจากที่เคยเดี้ยงไปแล้วเมื่อสองสามเดือนก่อน โดยอาการเดิมๆ ของมัน ซึ่งมันสุดยอดที่จะหาอะไรมาเหมือนไม่ได้อีกแล้ว ก็คือว่า ฮาร์ดดิสก์ 80 กิกกาไบต์ที่ใช้อยู่ดีๆ นี่แหละ อยู่ๆ ก็สะดุดกึ๊ก เครื่องดับแล้วเข้าวินโดวส์ไม่ได้เลย พอใช้แผ่นติดตั้งวินโดวส์บู๊ตเข้าไปก็ปรากฎว่ามันเห็นเนื้อที่ฮาร์ดดิสก์แค่ 8.7 G เท่าน้นเอง (อารายวะเนี้ยยยยยย)อะหูยๆ ซู้ดดดดยอดดดด ทำงัยก็ไม่หายขอรับ จะลอง XP แพค 1 แพค2 หรือแพค 3 ออกใหม่ๆ ก็เหมือนเดิม หรือจะลง วินโดวส์ 2000 ก็ยังเหมือนเก่า แม้กระทั่งลีนุกซ์ทั้งหลายที่เคยเป็นที่พึ่งยามสุดท้ายก็ยังไม่เห็น ปรากฎว่าเมื่อครั้งแรกตอนสองเดือนก่อน ก็เลยยอมแพ้ ทำใจใช้ 8G ตามที่มันเห็นเท่าน้นแหละ ปรากฎว่า ใช้ไปได้สักอาทิตย์นึง (ลง XP)อาการเก่าก็กำเริบอีกระ (ฮี่ฮี่ จาเกิดอารายขึ้นอีกเนี่ย) เครื่องเริ่มดับไปเฉยๆ ประมาณ 2-3 ครั้ง แล้วก็เข้าวินโดว์ไม่ได้อีกแร้วววว อีตาทีนี้พอใช้แผ่นเซ็ตอัพบู๊ตเข้าไป ปรากฎว่า มันเห็นฮาร์ดดิสก์เต็ม 80 เหมือนตะก่อนแย้ว (เย้ๆๆๆๆๆ ดีใจทามมายเนี่ย ไม่ได้ใช้ฝีมือซะหน่อย) ก็เลยได้ใช้ มาเรื่้อยๆ จนกระทั่งกลับมาจากปีใหม่มันก็มาอีกแร้ววววววครับท่าน หุหุหุ
อีทีนี้พอดีตอนนี้โหลดแผ่น Hiren Boot มาทิ้งไว้ก่อนแ้ล้ว เลยลอง Hiren boot ดู โดยใช้ Partition Magic แบ่งพาร์ติชัน ดู ก็ปรากฎว่ามันก็แบ่งได้นิ ได้เต็ม 80 เลย แต่พอจะเซ็ตโอเอส มันก็ยังเห็น 8g เหมือนเดิม (ฮ่วย อีหยังวะ)ปวดหัวว้อยยยยย สุดท้ายแต่ยังไม่ท้ายสุด เลยลองเซ็ตวินโดว์มี ดู ปรากฎว่าแผ่นวินมีก็ดันมีปัญหาอีก (ของเก่านิไม่ได้ใช้นาน) ก็เลยลงวิน 98 ไปซะเรยยย ปรากฎว่า มันใช้ได้แฮะ (เฮ้อออออ วาสนาตู เป็นช่างแท้ๆ มีบุญแค่วิน98 เนี่ยนะ) เอ้าาาา ยังไงก็ยังดีกว่าไม่ได้ละฟะ ก็เรยเซ็ต 98 เล่นซะ เล่นมันหมดทุกอย่าง ภาพ เสียง เน็ต แม้กระทั่งโหลดบิต (หูยยย เท่ซะหาใครเหมือนไม่ได้) ชักจะติดใจ 98 ซะแร้ว (หลังจากห่างหายไปนาน) แต่ว่า..... มันก็ยังมีปัญหาเรื่อง USB พอร์ตอีกน่ะแร่ะ (เซ็งเฟ้ยยยยย)ตกลง สุดท้ายและท้ายสุดจริงๆ ก็เลยโหลดวินโดวส์มีมาลงซะเรียบร้อยแร้ว ซึ่งก็แก้ปัญหาเรื่อง USB ได้แล้ว แต่ก็ยังไม่สะใจเหมือนเดิม เพราะดันใช้ได้แต่ระบบไฟล์แบบ FAT32 ซึ่งทำให้ใช้ไฟล์ขนาดเกิน 4G ไม่ได้ ว่าจะโหลดดีวีดีเด็ดๆมาดูก็เลยอดซ้าาาา (เซ็งจิงงงๆ) เฮ้อ.... แค่นี้ก็เอาเนอะ ไว้ตังค์ออกเมื่อไหร่จะเล่นมันซัก 1T เลย จะได้แก้แค้นมันซะให้สะใจไปเลย

วันเสาร์ที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2551

เมมผี เจอดีเข้าจังๆ


หลายวันก่อนมีคนให้ไปดูเมมโมรีการ์ดให้ เป็นเมมโมรีจากกล้องถ่ายรูปดิจิตัล ปรากฏว่า ตอนที่เสียบอยู่ในกล้องดิจิตอลสามารถใช้งานได้ปกติ แต่พอต่อเข้ากับคอมพ์เพื่อจะดึงภาพออกมาจากเมมโมรี วินโดวส์มันมองเห็นแต่เมมเปล่าๆ คือไม่เห็นมีไฟล์หรือโฟลเดอร์อะไรอยู่ในเมมซักอย่างเลย (ฮ่วย จัี่งใด๋เน้อนี่) ลองเช็คเมมดูเนื้อที่ ก็เห็นว่าเมม 1 จิ๊ก มันก็มีเนื้อที่ถูกใช้ไปตั้งสองร้อยกว่าเมกแล้ว ดันไม่เห็นมีไฟล์อะไรซะได้ ไปกดดูในกล้องก็เห็นมีภาพที่ถูกถ่ายอยู่ในเมมตามปกติ
อาการแบบนี้ โดนไวรัสมาชัวร์ๆ ครับท่าน แต่จะแก้ยังไงล่ะ สแกนไวรัสไปแล้ว ก็ไม่เจอไวรัสอะไร 555 มันเก่งแฮะ สแกนไวรัสเราอัพเดตล่าสุดยังไม่เห็นเลย จะฟอร์แมนเมมทิ้งเลยก็ไม่ได้ เพราะต้องการรูปถ่ายมาแล้วนิ งานเข้าแล้วสิตู ทำงัยดีหว่า
ด้วยอัจริยะภาพอันล้ำเลิศ ไม่รู้ผีห่าซาตานหรือเทวดาดลใจ ก็เลยลองซิปข้อมูลด้วยโปรแกรม winrar โดยที่เสียบเึึีมนเข้ากับเครื่องอ่านที่ต่อเข้าคอมพ์แล้ว คลิกขวาที่ไดร์ฟของเมมโมรีแล้วก็ซิปมันซ้าาาาาาาาาาาาาาาา
เออเว้ยยย มันซิปได้เฉยเลยฟ่ะ ตอนที่มันซิปมันลิสต์ชื่อไฟล์มาได้เฉย หุหุหุ(งงงงเฟ้ย มันเก่งกว่าวินโดวส์อีกแฮะ)
ซิปเสร็จเลยแตกไฟล์ซิปออกมา อะโห.... ได้ไฟล์มาเฉยเลยเฟ้ยยยยย (อาจจจฉ่ารียะชิงๆ เลยตรู) เมมผีเลยเจอซิปไปซะงั้น
มีแท็คติคนิ๊ดสสสสส์ นึง ถ้าคลายออกมาตรงๆ ก็ยังไม่โผล่ เอา winrar เปิดเข้าไปในไฟล์ก่อน แล้ว เลือกแตกไฟล์ภาพโดยตรงเลย ไม่ต้องเลือกแตกที่โฟลเดอร์นะจ๊ะ รับรองโผล่แน่ๆ
ใครเจอปัญหาแบบนี้ ก็เอาใช้ได้เยย ไม่สงวนลิขสิทธิ์ความพิศดารจ้ะ

อ่านะ... เด๋ววันหลังมีเรื่องดีๆ มาโม้ให้ฟังต่ออีกนะจ๊ะ